กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายให้กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ เข้มงวดกวดขันในการบังคับใช้กฎหมายพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 โดยสถานประกอบการเพื่อสุขภาพทุกแห่งที่เข้าข่ายตาม พ.ร.บ.นี้ ต้องขออนุญาตประกอบกิจการให้ถูกต้อง เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ได้รับบริการที่มีมาตรฐาน ทั้งด้านสถานที่ การให้บริการ และความปลอดภัย ปัจจุบันมีสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการทั่วประเทศกว่า 12,200 แห่ง
ธรรญานวดเพื่อสุขภาพ ได้รวบรวมข้อมูลครบเครื่อง เรื่องการขอใบอนุญาต ให้ผู้ประกอบการได้ศึกษา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมะอกสารให้ครบถ้วน ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการ เพื่อสุขภาพ (สพส.1 )
ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่
เอกสารที่ต้องเตรียม
เอกสารหลักฐานผู้ประกอบการ
(กรณีนิติบุคคล ต้องเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลตามที่ระบุในหนังสือบริคนห์สนธิ)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผุ้รับใบอนุญาต
ใบรับรองแพทย์ (ฉบับจริง ซึ่งออกไม่เกินหกเดือน และต้องมีการประทับตรา จากหน่วยงาน/คลินิกที่รับรอง)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท(หนังสือบริคนห์สนธิ) พร้อมสำเนาบัญชีผู้ถือหุ้น วัตถุประสงค์และผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล (กรณียื่นในนามนิติบุคคล) และวัตถุประสงค์การจัดตั้งบริษัทต้องระบุ กิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือสปา)
ใบมอบอำนาจ(กรณีผู้ประกอบการหรือนิติบุคคลมอบหมายให้บุคคลอื่นทำแทน) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ
เอกสารหลักฐานสถานที่ที่ตั้งสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
แผนที่แสดงบริเวณที่ตั้งสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
แบบแปลนหรือแผนผังสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่ยื่นคำขอฯที่ สามารถคำนวณพื้นที่ได้
เอกสารแสดงความเป็นเจ้าของอาคาร กรณีผู้ยื่นคำขอไม่ใช่เจ้าของอาคาร หรือสถานที่ตั้ง ต้องมีสัญญาเช่าหรือหนังสือยินยอมให้ใช้อาคารจากเจ้าของ อาคารหรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์(สัญญาเช่าที่ยังไม่หมดอายุ/หนังสือ ยินยอมให้ใช้สถานที่) และสำเนาทะเบียนบ้าน หรือ โฉนดที่ดิน ที่แสดงที่ตั้งของพื้นที่
เอกสารหลักฐานผู้ให้บริการ (พนักงานนวดและสปา)
บัญชีรายชื่อผู้ให้บริการ
สำเนาใบรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการ
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ให้บริการ
หลักฐานอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ ทะเบียนสมรส กรณีมีการเปลี่ยนชื่อสกุล
เอกสารหลักฐานผู้ดำเนินการสปา (กรณีขอใบอนุญาตประกอบกิจการสปา)
ขั้นตอนที่ 2 จัดทำป้ายชื่อกิจการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และจิดหน้าอาคารซึ่งสามารถมองเห็นชัดเจน การตั้งชื่อสถานประกอบการ มีระเบียบดังต่อไปนี้
ต้องเป็นภาษาไทย ชื่อร้านไม่มีลักษณะโอ้อวดเกินความจริง หรือทําให้เข้าใจว่า สามารถบําบัดรักษาโรคได้
ไม่สื่อความหมายไปทางลามก อนาจาร หรือ ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อย ขนบธรรมเนียม ศีลธรรมอันดีงา ไม่อ้างอิงสถาบ้นพระมหากษัตริย์ เว้นแต้ได้รับ พระบรมราชานุญาต หรือพระราชานุญาต
ภายในจังหวัดเดียวกัน ชื่อต้องไม่ซ้ํากัน ยกเว้นเป็น ผู้ประกอบการเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลเดียวกัน หรือมี หนังสือยินยอมจากผู้รับ ใบอนุญาตรายเดิม จึงสามารถให้ใช้ชื่อซ้ํากันได้ แต่ต้องมีการบอกสาขาที่ชัดเจน
หากมีป้ายชื่อหากมีชื่อภาษาต่างประเทศ ต้องมีขนาดตัวอักษรเล็กกว่าภาษาไทย
ขั้นตอนที่ 3 จัดเตรียมสถานประกอบการให้เป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวง
การเตรียมสถานที่
พื้นที่ภายในสถานประกอบการมีการแยกเป็นสัดส่วน พร้อมอุปกรณ์ในห้อง แต่ต้องไปลับดาเกินไป และไม่สามารถล็อคได้ มีม่านกั้น ห้องเปลี่ยนชุด
พื้นที่อากาศโปร่ง มีแสงสว่างพอเพียง จัดให้มีพัดลมดูดอากาศ ถ้ามีการใช้น้ำ ต้องมีการติดวัสดุกันลื่น หรือผ้ายาง มีการจัดระบบสิ่งปฏิกูล หรือขยะ ใช้ถังขยะที่มีฝาปิด มีป้ายบอกห้องน้ำชายหญิง มีระบบไฟสำรอง
มีระบบสัญญาณเตือนเพลิง ไหม้และติดตั้งเครื่องดับเพลิง ณ บริเวณเข้า-ออกหลัก อย่างน้อย 1 เครื่อง พร้อมหลักฐานตรวจสอบความพร้อมใช้งาน
มีฉลากแสดงวันหมดอายุของผลิตภัณฑ์
หากทางร้านมีบริการเกี่ยวกับการอบไอน้ํา อบซาวน่า อ่างน้ำวน บ่อน้ำร้อน หรือน้ำเย็น ตลอดจนอุปกรณ์หรือบริการอื่นใดที่มีการใช้ความร้อน หรือความเย็น
ต้องจัดให้มีอุปกรณ์เพิ่มเติมต่อไปนี้
มีป้ายเตือนข้อควรระวังในการอบสมุนไพร
มีป้ายแสดงการตรวจสอบอุปกรณ์
มีนาฬิกาและเครื่องวัดอุณหภูมิชัดเจน
อื่นๆ
1. มีเล่มเมนูบอกอัตราค่าบริการชัดเจน
2. มีเอกสารการซักประวัติลูกค้า
3. หนังสือทะเบียนประวัติพนักงาน
4. พนักงานมือป้ายชื่อชัดเจน แต่งตัวสุภาพ
コメント